Monday, December 3, 2012

วันชาติพม่า วันที่ 4 มกราคม ของทุกปี

วันชาติพม่า
ถึงแม้ว่าชาวพม่าจะชอบและยอมรับการปกครองภายใต้กฎหมายอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อพบว่ารัฐบาลอังกฤษมีอำนาจมากขึ้นและนักลงทุนต่างชาติต่างร่ำรวยมาก ขึ้น ก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ จึงคิดพยายามให้มีการออกกฎหมาย เพื่อชาวพม่าแทนกฎหมายเดิมที่ชาวอังกฤษนำมาใช้




พม่าเปลี่ยนธงชาติ - เพลงชาติใหม่ ก่อนเลือกตั้ง (ไอเอ็นเอ็น)

          รัฐบาลทหารพม่า เปิดตัวธงชาติใหม่ 2 สัปดาห์ ก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญของประเทศ 7 พ.ย. นี้


          โดย ธงชาติใหม่ของพม่า มีลักษณ์เป็นเส้นลายแนวนอน สีเหลือง เขียว และแดง ตามลำดับ มีดวงดาวสีขาวดวงใหญ่ อยู่กึ่งกลางรวมถึง ตราสัญลักษณ์ประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยจะมีผลบังคับใช้โดยทันที ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า ปี 2551 โดยสีของธงชาติ อาจจะมีความหมายโดยรวมหมายถึง ความอดทน ความสงบสุข สามัคคี ความเงียบสงบ และความกล้าหาญ เด็ดขาด

          นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า แทนชื่อเดิม คือ สหภาพพม่า และเปลี่ยนเพลงชาติเพลงใหม่ อีกด้วย





วันที่ 4 มกราคม 2491 เป็นวันเริ่มต้นวันชาติพม่า และเป็นวันเริ่มต้น ของเอกราชพม่าที่ได้รับคืนจากอังกฤษ หลังถูกอังกฤษครอบครองมาตั้งแต่ปี 2369 ภายใต้ข้อตกลงตามสัญญายันดะโบ ที่พม่าต้องมอบดินแดน ยะไข่และตะนาวศรีให้กับอังกฤษ อันเนื่องมาจากการพ่ายแพ้สงคราม และนับแต่นั้นมาพม่า ก็มีเหตุให้ต้องเสียดินแดนส่วนที่เหลือให้แก่อังกฤษอีก.....



ด้วยในปี 2369 พม่าแพ้สงครามให้แก่อังกฤษ จนเป็นเหตุให้ต้องมอบดินแดน ยะไข่และตะนาวศรีให้อังกฤษ และยังถูกห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทางการปกครอง ในเขตอัสสัมและมณีปุระ นอกจากนี้พม่ายังต้องจ่ายเงิน 1 โกฏิ (10 ล้านบาท) เป็นค่าชดใช้สงคราม




ในปี 2395 สมัยของกษัตริย์ปะกังมีง พม่าอ่อนแอ ทางการเมือง ประกอบกับอังกฤษ มีความต้องการจะ ขยายอาณานิคมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้แผ่นดินพม่า ถูกแบ่งให้เป็นพม่าตอนบน และพม่าตอนล่าง โดยยึดเมืองตองอูเป็นแนวแบ่งเขต แล้วอังกฤษ ก็ทำการยึดครองพม่าตอนล่าง ไว้ในเขตการปกครอง
ในปี 2396 พระเจ้ามินดง น้องชายของปะกังมีง ได้ขึ้นครองราชย์ และปกครองราชธานีอมรปุระ และด้วยพระองค์ ทรงประสงค์ที่จะให้เกิดความสงบสุข จึงได้พยายามปฏิบัติต่ออังกฤษอย่างเหมาะสม โดยได้มีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับผู้สำเร็จราชการดะลาโฮชี แห่งกัลกัตตา พร้อมกับขอดินแดนพะโคคืน แต่ไม่เป็นการสำเร็จ ต่อมาจึงได้ส่งคณะทูตนำโดย กีงวงมีงจี เดินทางไปยังอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี พร้อมกับสร้างไมตรีกับอเมริกา นอกจากนั้น ยังส่งนักเรียนทุนไปยังยุโรป เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ทำให้ การปกครองบ้านเมืองมีความสงบสันติ
ส่วนทางด้านการพาณิชย์นั้น ก็ได้มีการจัดซื้อเครื่องสีข้าว เครื่องทำน้ำตาล เครื่องจักรเลื่อยไม้ และเครื่องทอผ้าจากยุโรป และมีการทำสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ ส่วนทางด้านการศึกษานั้น ได้มอบที่ดินพร้อมโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูชาวอังกฤษ เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้กับราชโอรสทั้งหลาย
ในสมัยของพระเจ้ามินดงนั้น พม่าได้ปกครองเฉพาะ พม่าในตอนบนเท่านั้น ส่วนอังกฤษได้ทำการจัดแบ่งดินแดน ตอนล่างของพม่าออกเป็น 3 มณฑล คือ มณฑลยะไข่ มณฑลตะนาวศรี และมณฑลพะโค พร้อมกับได้ทำการแต่งตั้งผู้แทน ไปปกครองในแต่ละมณฑล แต่ต่อมาในปี 2405 นั้นได้มีการรวมมณฑลทั้ง 3 นี้ไว้ด้วยกัน แล้วให้มหาวงฉี่งด่อมีงจี เป็นผู้ปกครองแต่ผู้เดียว




มหาวงฉี่งด่อมีงจี คนแรกที่มาประจำ อยู่เมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของพม่าตอนล่างคือ เซอร์อาตา แผ่หย่า หรือ Sir Arther Phayre เซอร์อาตา แผ่หย่าได้ขยับขยาย เมืองย่างกุ้งเก่า ให้เป็นเมืองท่าหลักทางทะเล พร้อมกับตั้งชื่อถนนตามนาม ของข้าราชการชาวอังกฤษ เช่น ถนนดาลาโฮซี และถนนแผ่หย่า (ซึ่งปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพม่า เป็นถนนมหาพันธุละ และถนนปางโซดาน ตามลำดับ) นับจากเวลานั้นมา พ่อค้านายทุนทั้งหลาย ต่างก็ทยอยกันมา ยังเมืองย่างกุ้ง เพื่อทำการค้าต่าง ๆ อาทิ ทำไม้ ขุดเจาะน้ำมัน ทำเหมืองแร่ ดำเนินกิจการ เรือกลไฟและรถไฟ ส่วนนายทุนแขกและจีน ก็ได้เข้ามาทำการค้าที่ย่างกุ้งเช่นกัน คนจีนและแขก จึงอพยพเข้ามาอยู่ในแผ่นดินพม่ากันมากขึ้น มีการสร้างอาคารเป็นตึกน้อยใหญ่และ เปิดบริษัท ห้างร้าน ส่วนชาวพม่าเจ้าของถิ่นนั้น ก็ได้หันมาสู่อาชีพ ทำนาปลูกข้าวกันมากขึ้น



ชาวพม่าตอนบนได้ทำการค้าขาย กับชาวพม่าตอนล่างอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งสินค้าที่ผลิต ได้จากพม่าตอนบนมาขายทางใต้ อาทิ ถั่ว ข้าวโพด ยาง น้ำมัน ฝ้าย น้ำตาล และน้ำมันดิบ ส่วนทางใต้ก็ส่งสินค้าต่าง ๆ ไปขายยังพม่าตอนบน อาทิ ข้าว กะปิ และปลาแห้ง เป็นต้น




ในปี 2421 พระเจ้ามินดง สวรรคต พระนางอเลนันดอ และอำมาตย์บางคน ได้แต่งตั้ง ให้พระเจ้าธีบอ โอรสในลำดับรองๆ ขึ้นครองราชบัลลังก์ โดยมองข้าม โอรสองค์ต้น ๆ ทั้งหลาย จึงทำให้ เรื่องของการเมืองเกิดความยุ่งเหยิงขึ้น การคบค้ากับรัฐบาลอังกฤษ ที่ทำการปกครอง พม่าตอนล่างอยู่นั้น ไม่สู้ที่จะราบรื่นอย่างสมัยของพระเจ้ามินดงไม่ ประกอบกับว่า ชาวอังกฤษไม่พอใจที่พม่าไปทำสัญญาการค้า และการเมืองกับฝรั่งเศส โดยรัฐบาลอังกฤษ เกรงว่าอำนาจของรัฐบาลฝรั่งเศสจะครอบงำพม่า
จึงเตรียมการ ที่จะยึดดินแดนพม่าตอนบนไว้ โดยหาเหตุเรียกร้อง ค่าปรับจากพม่า เกี่ยวกับการทำไม้ ของบริษัทบอมเบย์
และในวันที่ 1 มกราคม 2429 อังกฤษ ได้ทำการประกาศให้พม่าตอนบน เป็นของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งเห็นชาวพม่าพึ่งพาอยู่ กลับไม่อาจ ให้ความช่วยเหลือได้ ด้วยเหตุนี้เอง แผ่นดินของพม่าทั้งหมด จึงกลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง ของจักรวรรดิอังกฤษ
และในราวปี 2443 มีชาวพม่าบางส่วนเริ่มชื่นชอบ การปกครองด้วยกฎหมายแบบอังกฤษ ส่วนในทางการค้าขายข้าว และการค้าไม้ก็รุ่งเรืองขึ้น อย่างไรก็ตาม
การปกครองก็ยังอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวต่างชาติ ทำให้ชาวพม่ารู้สึกได้ว่า ไม่ได้รับประโยชน์ จากการค้าอย่างพอควร ขณะที่การค้าขาย และการขนส่งเจริญขึ้นมาก เมืองต่าง ๆ ก็เติบโต ผู้คนก็เนืองแน่นตามมา แต่ชาวพม่าที่เป็นชาวไร่ ชาวนาทั้งหลายกลับยังยากจน แม้เพียงจะซื้อสิ่งจำเป็น ในการทำไร่ทำนา อาทิ วัว ควาย เครื่องมือทำนา ชาวพม่าก็ยังคงต้องกู้ยืมเงินจาก นายทุนชาวต่างชาติ จนไม่อาจชดใช้หนี้สินได้




ถึงแม้ว่าชาวพม่าจะชอบ และยอมรับการปกครอง ภายใต้กฎหมายอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อพบว่า รัฐบาลอังกฤษ มีอำนาจมากขึ้น และนักลงทุนต่างชาติ ต่างร่ำรวยมากขึ้น ก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ จึงคิดพยายามให้มี การออกกฎหมาย เพื่อชาวพม่าแทนกฎหมายเดิม ที่ชาวอังกฤษนำมาใช้
แต่ต่อมาในปี 2489 แกนนำประชาชน ฝ่ายพะซะปะละ ได้เสนอข้อเรียกร้องต่าง ๆ เช่น การเรียกประชุมสภาสร้างชาติ และการเรียกร้องอิสรภาพ ในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอังกฤษนั้นไม่สามารถที่จะต้านพลังเรียกร้อง ที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท จึงจำต้อง มอบอำนาจการปกครองคืนให้กับพม่า พร้อมกับสัญญาว่า จะให้อิสรภาพแก่พม่าโดยสมบูรณ์




แต่ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 นายพลอองซาน (ผู้นำฝ่ายพะซะปะละ) และผู้นำบางคน ได้ถูกลอบสังหาร รองประธานพะซะปะละในขณะนั้น คือ ตะขิ่นนุ ได้เป็นประธานในการร่างรัฐธรรมนูญต่อจนสำเร็จ จากนั้นก็ได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษ และลงนามเพื่อการมอบเอกราชให้กับพม่า โดยกำหนดไว้เป็นวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 พม่าจึงได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์มานับแต่นั้น

แหล่งข้อมูล
http://www.myanmar.nu.ac.th
http://www.tungsong.com
http://www.mfa.go.th
http://www.vacationzone.co.th

0 comments:

Post a Comment