Latest Post

Monday, December 3, 2012

วันชาติลาว 2 ธันวาคม ของทุกปี

|0 comments

2 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติลาว


2 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติลาว
 
 เนื่องจากในวันนี้ของปี พ.ศ. 2495 ลาวได้ประกาศเป็นเอกราชต่อฝรั่งเศส จึงทำให้ถือเอาวันที่ 2...

เนื่องจากในวันนี้ของปี พ.ศ. 2495 ลาวได้ประกาศเป็นเอกราชต่อฝรั่งเศส จึงทำให้ถือเอาวันที่ 2 ธันวาคม
เป็นวันชาติของประเทศลาว ที่เราคนไทยรู้จักกัน

ประวัติ

อาณาจักรลาว ลาวเชื่อกันว่าเป็นสาขาหนึ่งของคนเผ่าไทย อพยพจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอน บน บริเวณที่เรียกว่า ลานช้าง ระยะแรกอยู้ภายใต้อำนาจของกัมพูชา ในปีค.ศ.1355 เจ้าฟ้างุ้ม ผู้นำลาวถือโอกาสในระยะที่กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทยสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ปลีกตัวเป็นอิสระจากกัมพูชา โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้านิพัทธบท กษัตริย์กัมพูชาที่ซึ่งหลบหลีกเข้ามาอาศัยในลาว โดยได้พระราชทานพระบางให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวลาว ต่อมาลาวต้องสูญเสียเอกราชให้แก่กษัตริย์เวียดนามในปีค.ศ. 1479 ในสมัยพระเจ้าโพธิสาร ลาวสร้าง เมืองเวียงจันทร์ ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งที่สอง รองจากเมืองหลวงพระบาง เพราะลาวต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมากขึ้น และได้ใช้เมืองหลวงใหม่เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าของลาวด้วย และได้ขยายการปกครอง ต่อมาได้มีการขัดแย้งกับพม่าในระหว่างปี ค.ศ. 1556-1563 ในสมัยบุเรงนองกษัตริย์ของพม่าในสมัยนั้นเมื่อบุเรงนองสิ้นพระชนม์ พระหนอแก้วกุมาร จึงประกาศอิสระภาพให้แก่ลาวในปีค.ส. 1591 ตั้งราชธานีที่เวียงจันทน์ และต่อจากนั้นมีการแย่งชิงอำนาจกันเรื่อยมา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1778 อาณาจักรลาวได้รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะประเทศราชของไทย

           ลาวภายใต้การปกครองของฝรั่งเศลโดยที่ลาวจัดเป็นรัฐอารักขา ในระยะแรกขึ้นตรงต่อกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยินยอมให้ผู้ปกครองเดิมปกครองชาวเมืองเดิมปกครองต่อไป ทางฝ่ายฝรั่งเศลเพียงแต่ถือสิทธิ์ในการที่จะแต่งตั้ง หรือสนับสนุนให้ผู้ใดขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นนั้น ทางด้านการบริหารงานของกษัตริย์ จะมีคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเหลือ คณะรัฐมนตรีสามารถดำเนินงานได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเฉพาะเรื่องศาสนา 

           ความเคลื่อนไหวทางชาตินิยมในลาว เกิดขึ้นในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระยะดังกล่าวญี่ปุ่นได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับไทย และบังคับให้รัฐบาลริชีของฝรั่งเศส คืนดินแดนบางส่วนให้แก่ไทย ฝรั่งเศสปกครองดินแดนส่วนที่เหลือ โดยมีพระเจ้าศรีสว่างวงศ์เป็นกษัตริย์ เจ้าเพชรราชเป็นนายยกรัฐมนตรี ฝรั่งเศสได้ปรับปรุงการบริหารงานของลาวขึ้นใหม่ เพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ ปรับปรุงคุณภาพของข้าราชการ ปรับปรุงคุณภาพของข้าราชการ จำกัดชาวเวียดนามในลาว ปรับปรุงเศษฐกิจและการศึกษา ในเดือนมีนาคมค.ศ.145 ญี่ปุ่นได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจาอินโดจีน และให้ลาวประกาศเอกราช พระเจ้าศรีสว่างวงศ์และสว่างวัฒนาราชโอรส เป็นกลุ่มชาวลาวที่นิยมฝรั่งเศส จึงได้รวมชาวลาวเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ญี่ปุ่นบังคับให้พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ประกาศเอกราช โดยมีเจ้าเพชรราชเป็นนายยกรัฐมนตรีอย่างเดิม เจ้าเพชรราชยอมร่วมมือกับญี่ปุ่นเพราะเห็นว่าสามารถคุ้มครองลาว ให้พ้นจากอิทธิของเวียดนาม ญี่ปุ่นไม่ได้ให้ความสนใจต่อลาวมากนัก เพียงแต่แต่งตั่งที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นประจำในลาวเท่านั้น เจ้าเพชรราชจึงมีจึงประกาศอิสระในการปกครอง และได้เตรียมการเพื่อให้ลาวมีเอกราชโดยสมบูรณ์ และขจัดอิทธิพลเวียดนามในลาวด้วย

           ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 1945 ญี่ปุ่แพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงให้จีนเป็นผู้ปลดปล่อยอาวุธญี่ปุ่นในลาว เจ้าเพชรราชไม่ยอมรับรู้ ประกาศเอกราชในลาวเมื่อวันที่ 1 กันยายนค.ศ.1945 รวบรวมชาวลาวก่อตั้งขบวนการอิสระ มีจุดมุ่งประสงค์เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ผู้นำคนดังกล่าวได่แก่ เจ้าสุวรรณภูมิ เจ้าสภานุวงศ์ อนุชาของเจ้าเพชรราช และหลังจากนั้น วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2497 ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศล และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันชาติ

จากที่เกิดปัญหาว่าไม่สามารถหาเครื่องเอทีเอ็มได้ในเวียงจันทน์ และธนาคารไทยที่มีอยู่หลายแห่งจะเปิดทำการอีกครั้งวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งวันนั้นตามโปรแกรมเราจะต้องเดินทางไปเมืองอื่นแล้ว ประกอบกับที่ไม่อยากเที่ยวแบบไม่มีความสุขเท่าไรจึงตกลงใจกันกลับเมืองไทย ค่ะ


ปัจจุบันมีโครงการความร่วมมือระหว่างบริษัท ขนส่ง จำกัด ของไทย กับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ จัดรถโดยสารระหว่างประเทศอยู่ 2 เส้นทาง คือ เวียงจันทน์ (สถานีรถเมล์ใกล้ตลาดเช้า) - หนองคาย (สถานีขนส่ง) และเวียงจันทน์ - อุดรธานี ซึ่งเส้นทางที่สะดวก คือ ไปหนองคายทางสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ค่าโดยสารคนละ 30 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองอ่ะค่ะ บางคนมีปัญหาการนำสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เข้าออก มีขั้นตอนเยอะก็เสียเวลามากขึ้นค่ะ


นอก จากจะเข้าไปกดเงินต่ออายุการท่องเที่ยวแล้ว เรายังนำข้าวของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ส่งกลับบ้านทางไปรษณีย์และกินกะเพราไก่ ไข่ดาวให้หายคิดถึงด้วยค่ะ


จัดการธุระเรียบร้อยก็กลับมาลัลล้าต่อในเวียงจันทน์ค่ะ



เวียงจันทน์ เป็นเมืองเก่าแก่ ตามตำนานการสร้างเมืองบางสำนวนกล่าวว่า มีฤๅษีสามพี่น้องมาปักหลักไม้จันทน์หมายเป็นเขตสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณนี้ จึงได้ชื่อว่าเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างแทนหลวงพระ บาง มีกษัตริย์ปกครองเรื่อยมาจนกระทั่งลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ และเวียงจันทน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2518


หลายคนอาจสับสนกับคำว่า "แขวงเวียงจันทน์" กับ "กำแพงนครเวียงจันทน์" แขวงเวียงจันทน์มีฐานะเป็นจังหวัด ส่วนกำแพงนครเวียงจันทน์ถือเป็นเขตปกครองพิเศษ มีฐานะเทียบกับเทศบาลนคร พื้นที่กำแพงนครเป็นเขตราชธานีเก่า ปัจจุบันเป็นที่ตั้งรัฐบาลและหน่วยงานสำคัญทางภาครัฐและเอกชน


สถานที่ท่องเที่ยวในเวียงจันทน์ของบล็อกวันนี้และวันต่อไป หมายถึง "กำแพงนครเวียงจันทน์" นะคะ




วันนี้ เป็นวันชาติลาว ฉลองครบรอบ 30 ปี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนเช้ามีการปราศรัย และสวนสนาม ถนนล้านช้างไปจนถึงประตูชัยมีติดไฟประดับสวยงาม












บรรยากาศการเฉลิมฉลองวันชาติของลาว
บริเวณประตูชัย
มีจุดพลุ (ไม่สูงนัก) ติดไฟประดับ
และน้ำพุเต้นระบำ
เช่ารถจักรยานเพื่อตะลุยชมวัดและสถานที่สำคัญๆ ในเมือง





พญานาคตามบันไดขึ้นลง
เห็นได้ในทุกวัด






ตอนถ่ายไม่ทันสังเกต
แต่พอเดินไปได้สักพักถึงเพิ่งเห็น
ว่าเกล็ดพญานาคของเกือบทุกวัด
จะทำมาจากเปลือกหอยแครง
เพราะอะไรก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะ









วัดองค์ตื้อ



วัดองค์ตื้อเป็น วัดที่ใหญ่ที่สุดในเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปโลหะหล่อหนักประมาณ 12,000 กิโลกรัม





พระธาตุดำ



พระธาตุดำ เจดีย์ทรงดอกบัวหกเหลี่ยมตั้งอยู่กลางเมือง ตามตำนานเล่าว่าใต้พระธาตุดำมีพญานาคเจ็ดเศียรอาศัยอยู่ ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาเมืองให้พ้นจากการโจมตีของไทย





จบวันนี้ด้วยบรรยากาศดีๆ ริมน้ำโขง
ลุยเมืองเวียงจันทน์ต่อด้วยจักรยาน โดยมุ่งไปอีกเส้นทาง คือ เส้นทางที่ไปวัดธาตุหลวง



วัดธาตุหลวง พุทธสถานที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลาว เดิมเป็นพระธาตุองค์เล็กๆ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกหัวเหน่า) ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสร้างพระธาตุหลวงใหม่ครอบองค์เดิม ให้ชื่อว่า พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี พระธาตุหลวงถูกทำลายเสียหายหลายครั้ง ชาวลาวได้บูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง หลังสุดบูรณะรูปทรงตามคติจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง และมีเจดีย์ธาตุบริวารล้อมรอบ 30 องค์ ทาสีทองอร่าม



















พระธาตุหลวงในมุมต่างๆ
ชอบท้องฟ้าค่ะ สีสวยมากๆ
เลยแปะให้ชมซะหลายรูป


วันชาติพม่า วันที่ 4 มกราคม ของทุกปี

|0 comments
วันชาติพม่า
ถึงแม้ว่าชาวพม่าจะชอบและยอมรับการปกครองภายใต้กฎหมายอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อพบว่ารัฐบาลอังกฤษมีอำนาจมากขึ้นและนักลงทุนต่างชาติต่างร่ำรวยมาก ขึ้น ก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ จึงคิดพยายามให้มีการออกกฎหมาย เพื่อชาวพม่าแทนกฎหมายเดิมที่ชาวอังกฤษนำมาใช้




พม่าเปลี่ยนธงชาติ - เพลงชาติใหม่ ก่อนเลือกตั้ง (ไอเอ็นเอ็น)

          รัฐบาลทหารพม่า เปิดตัวธงชาติใหม่ 2 สัปดาห์ ก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญของประเทศ 7 พ.ย. นี้


          โดย ธงชาติใหม่ของพม่า มีลักษณ์เป็นเส้นลายแนวนอน สีเหลือง เขียว และแดง ตามลำดับ มีดวงดาวสีขาวดวงใหญ่ อยู่กึ่งกลางรวมถึง ตราสัญลักษณ์ประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยจะมีผลบังคับใช้โดยทันที ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า ปี 2551 โดยสีของธงชาติ อาจจะมีความหมายโดยรวมหมายถึง ความอดทน ความสงบสุข สามัคคี ความเงียบสงบ และความกล้าหาญ เด็ดขาด

          นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า แทนชื่อเดิม คือ สหภาพพม่า และเปลี่ยนเพลงชาติเพลงใหม่ อีกด้วย





วันที่ 4 มกราคม 2491 เป็นวันเริ่มต้นวันชาติพม่า และเป็นวันเริ่มต้น ของเอกราชพม่าที่ได้รับคืนจากอังกฤษ หลังถูกอังกฤษครอบครองมาตั้งแต่ปี 2369 ภายใต้ข้อตกลงตามสัญญายันดะโบ ที่พม่าต้องมอบดินแดน ยะไข่และตะนาวศรีให้กับอังกฤษ อันเนื่องมาจากการพ่ายแพ้สงคราม และนับแต่นั้นมาพม่า ก็มีเหตุให้ต้องเสียดินแดนส่วนที่เหลือให้แก่อังกฤษอีก.....



ด้วยในปี 2369 พม่าแพ้สงครามให้แก่อังกฤษ จนเป็นเหตุให้ต้องมอบดินแดน ยะไข่และตะนาวศรีให้อังกฤษ และยังถูกห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทางการปกครอง ในเขตอัสสัมและมณีปุระ นอกจากนี้พม่ายังต้องจ่ายเงิน 1 โกฏิ (10 ล้านบาท) เป็นค่าชดใช้สงคราม




ในปี 2395 สมัยของกษัตริย์ปะกังมีง พม่าอ่อนแอ ทางการเมือง ประกอบกับอังกฤษ มีความต้องการจะ ขยายอาณานิคมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้แผ่นดินพม่า ถูกแบ่งให้เป็นพม่าตอนบน และพม่าตอนล่าง โดยยึดเมืองตองอูเป็นแนวแบ่งเขต แล้วอังกฤษ ก็ทำการยึดครองพม่าตอนล่าง ไว้ในเขตการปกครอง
ในปี 2396 พระเจ้ามินดง น้องชายของปะกังมีง ได้ขึ้นครองราชย์ และปกครองราชธานีอมรปุระ และด้วยพระองค์ ทรงประสงค์ที่จะให้เกิดความสงบสุข จึงได้พยายามปฏิบัติต่ออังกฤษอย่างเหมาะสม โดยได้มีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับผู้สำเร็จราชการดะลาโฮชี แห่งกัลกัตตา พร้อมกับขอดินแดนพะโคคืน แต่ไม่เป็นการสำเร็จ ต่อมาจึงได้ส่งคณะทูตนำโดย กีงวงมีงจี เดินทางไปยังอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี พร้อมกับสร้างไมตรีกับอเมริกา นอกจากนั้น ยังส่งนักเรียนทุนไปยังยุโรป เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ทำให้ การปกครองบ้านเมืองมีความสงบสันติ
ส่วนทางด้านการพาณิชย์นั้น ก็ได้มีการจัดซื้อเครื่องสีข้าว เครื่องทำน้ำตาล เครื่องจักรเลื่อยไม้ และเครื่องทอผ้าจากยุโรป และมีการทำสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ ส่วนทางด้านการศึกษานั้น ได้มอบที่ดินพร้อมโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูชาวอังกฤษ เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้กับราชโอรสทั้งหลาย
ในสมัยของพระเจ้ามินดงนั้น พม่าได้ปกครองเฉพาะ พม่าในตอนบนเท่านั้น ส่วนอังกฤษได้ทำการจัดแบ่งดินแดน ตอนล่างของพม่าออกเป็น 3 มณฑล คือ มณฑลยะไข่ มณฑลตะนาวศรี และมณฑลพะโค พร้อมกับได้ทำการแต่งตั้งผู้แทน ไปปกครองในแต่ละมณฑล แต่ต่อมาในปี 2405 นั้นได้มีการรวมมณฑลทั้ง 3 นี้ไว้ด้วยกัน แล้วให้มหาวงฉี่งด่อมีงจี เป็นผู้ปกครองแต่ผู้เดียว




มหาวงฉี่งด่อมีงจี คนแรกที่มาประจำ อยู่เมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของพม่าตอนล่างคือ เซอร์อาตา แผ่หย่า หรือ Sir Arther Phayre เซอร์อาตา แผ่หย่าได้ขยับขยาย เมืองย่างกุ้งเก่า ให้เป็นเมืองท่าหลักทางทะเล พร้อมกับตั้งชื่อถนนตามนาม ของข้าราชการชาวอังกฤษ เช่น ถนนดาลาโฮซี และถนนแผ่หย่า (ซึ่งปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพม่า เป็นถนนมหาพันธุละ และถนนปางโซดาน ตามลำดับ) นับจากเวลานั้นมา พ่อค้านายทุนทั้งหลาย ต่างก็ทยอยกันมา ยังเมืองย่างกุ้ง เพื่อทำการค้าต่าง ๆ อาทิ ทำไม้ ขุดเจาะน้ำมัน ทำเหมืองแร่ ดำเนินกิจการ เรือกลไฟและรถไฟ ส่วนนายทุนแขกและจีน ก็ได้เข้ามาทำการค้าที่ย่างกุ้งเช่นกัน คนจีนและแขก จึงอพยพเข้ามาอยู่ในแผ่นดินพม่ากันมากขึ้น มีการสร้างอาคารเป็นตึกน้อยใหญ่และ เปิดบริษัท ห้างร้าน ส่วนชาวพม่าเจ้าของถิ่นนั้น ก็ได้หันมาสู่อาชีพ ทำนาปลูกข้าวกันมากขึ้น



ชาวพม่าตอนบนได้ทำการค้าขาย กับชาวพม่าตอนล่างอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งสินค้าที่ผลิต ได้จากพม่าตอนบนมาขายทางใต้ อาทิ ถั่ว ข้าวโพด ยาง น้ำมัน ฝ้าย น้ำตาล และน้ำมันดิบ ส่วนทางใต้ก็ส่งสินค้าต่าง ๆ ไปขายยังพม่าตอนบน อาทิ ข้าว กะปิ และปลาแห้ง เป็นต้น




ในปี 2421 พระเจ้ามินดง สวรรคต พระนางอเลนันดอ และอำมาตย์บางคน ได้แต่งตั้ง ให้พระเจ้าธีบอ โอรสในลำดับรองๆ ขึ้นครองราชบัลลังก์ โดยมองข้าม โอรสองค์ต้น ๆ ทั้งหลาย จึงทำให้ เรื่องของการเมืองเกิดความยุ่งเหยิงขึ้น การคบค้ากับรัฐบาลอังกฤษ ที่ทำการปกครอง พม่าตอนล่างอยู่นั้น ไม่สู้ที่จะราบรื่นอย่างสมัยของพระเจ้ามินดงไม่ ประกอบกับว่า ชาวอังกฤษไม่พอใจที่พม่าไปทำสัญญาการค้า และการเมืองกับฝรั่งเศส โดยรัฐบาลอังกฤษ เกรงว่าอำนาจของรัฐบาลฝรั่งเศสจะครอบงำพม่า
จึงเตรียมการ ที่จะยึดดินแดนพม่าตอนบนไว้ โดยหาเหตุเรียกร้อง ค่าปรับจากพม่า เกี่ยวกับการทำไม้ ของบริษัทบอมเบย์
และในวันที่ 1 มกราคม 2429 อังกฤษ ได้ทำการประกาศให้พม่าตอนบน เป็นของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งเห็นชาวพม่าพึ่งพาอยู่ กลับไม่อาจ ให้ความช่วยเหลือได้ ด้วยเหตุนี้เอง แผ่นดินของพม่าทั้งหมด จึงกลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง ของจักรวรรดิอังกฤษ
และในราวปี 2443 มีชาวพม่าบางส่วนเริ่มชื่นชอบ การปกครองด้วยกฎหมายแบบอังกฤษ ส่วนในทางการค้าขายข้าว และการค้าไม้ก็รุ่งเรืองขึ้น อย่างไรก็ตาม
การปกครองก็ยังอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวต่างชาติ ทำให้ชาวพม่ารู้สึกได้ว่า ไม่ได้รับประโยชน์ จากการค้าอย่างพอควร ขณะที่การค้าขาย และการขนส่งเจริญขึ้นมาก เมืองต่าง ๆ ก็เติบโต ผู้คนก็เนืองแน่นตามมา แต่ชาวพม่าที่เป็นชาวไร่ ชาวนาทั้งหลายกลับยังยากจน แม้เพียงจะซื้อสิ่งจำเป็น ในการทำไร่ทำนา อาทิ วัว ควาย เครื่องมือทำนา ชาวพม่าก็ยังคงต้องกู้ยืมเงินจาก นายทุนชาวต่างชาติ จนไม่อาจชดใช้หนี้สินได้




ถึงแม้ว่าชาวพม่าจะชอบ และยอมรับการปกครอง ภายใต้กฎหมายอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อพบว่า รัฐบาลอังกฤษ มีอำนาจมากขึ้น และนักลงทุนต่างชาติ ต่างร่ำรวยมากขึ้น ก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ จึงคิดพยายามให้มี การออกกฎหมาย เพื่อชาวพม่าแทนกฎหมายเดิม ที่ชาวอังกฤษนำมาใช้
แต่ต่อมาในปี 2489 แกนนำประชาชน ฝ่ายพะซะปะละ ได้เสนอข้อเรียกร้องต่าง ๆ เช่น การเรียกประชุมสภาสร้างชาติ และการเรียกร้องอิสรภาพ ในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอังกฤษนั้นไม่สามารถที่จะต้านพลังเรียกร้อง ที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท จึงจำต้อง มอบอำนาจการปกครองคืนให้กับพม่า พร้อมกับสัญญาว่า จะให้อิสรภาพแก่พม่าโดยสมบูรณ์




แต่ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 นายพลอองซาน (ผู้นำฝ่ายพะซะปะละ) และผู้นำบางคน ได้ถูกลอบสังหาร รองประธานพะซะปะละในขณะนั้น คือ ตะขิ่นนุ ได้เป็นประธานในการร่างรัฐธรรมนูญต่อจนสำเร็จ จากนั้นก็ได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษ และลงนามเพื่อการมอบเอกราชให้กับพม่า โดยกำหนดไว้เป็นวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 พม่าจึงได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์มานับแต่นั้น

แหล่งข้อมูล
http://www.myanmar.nu.ac.th
http://www.tungsong.com
http://www.mfa.go.th
http://www.vacationzone.co.th

Sunday, December 2, 2012

วันชาติมาเลเซีย 31 สิงหาคม ของทุกปี

|0 comments

วันชาติมาเลเซีย

31 สิงหาคม ของทุกปี คือวันชาติของประเทศมาเลเซีย
วันชาติมาเลเซียหรือที่ชาวมาเลเซียเรียกกันว่า Merdeka Day ซึ่งแปลว่า Independence Day หรือวันแห่งอิสรภาพนั้น ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี จะมีการชุมนุมเพื่อเฉลิมฉลองที่จัตุรัสเมอร์เดก้าหรือลานแห่งอิสรภาพ ในงานจะเต็มไปด้วยสีสันของงานรื่นเริงที่เรียกว่า City warna เป็นการผสมผสานระหว่างความทันสมัยที่หรูหรากับเสน่ห์ของโลกเก่าที่ชาว มาเลเซียร่วมกันเก็บรักษาไว้ และการแสดงจากขบวนพาเหรดอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วง 30 ปีแรกของการเฉลิมฉลอง จะเน้นไปที่การเดินพาเหรดของเหล่าทหาร เด็กนักเรียน นักแสดงที่แสดงถึงวัฒนธรรม นักกีฬาที่มีชื่อเสียง แต่ในช่วงหลังจะเป็นการฉลองทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมความหลากหลายทางเชื้อชาติของชาวมาเลเซียที่อยู่ร่วมกันมาอย่างสงบ สุข
มาเลเซียเคยตกเป็นประเทศในปกครองของอังกฤษ และได้รับเอกราชคืนมา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500 มาเลเซียมีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีพระราชาธิบดีเป็นประมุข

The National Flag of Malaysia ธงชาติมาเลเซีย

 
ธงชาติมาเลเซีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาลูร์ เกมิลัง ( Jalur Gemilang มีความหมายว่าธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า บินตัง เปอร์เซกูตัน (Bintang Persekutuan) หรือดาราสหพันธ์

The flag of Malaysia, also known as the Jalur Gemilang (Malay for "Stripes of Glory"), comprises a field of 14 alternating red and white stripes along the fly and a blue canton bearing a crescent and a 14-point star known as the Bintang Persekutuan (Federal Star). The 14 stripes, of equal width, represent the equal status in the federation of the 13 member states and the federal government, while the 14 points of the star represent the unity between these entities. The crescent represents Islam, the country's official religion; the blue canton symbolizes the unity of the Malaysian people; the yellow of the star and crescent is the royal colour of the Malay rulers.

ข้อมูลและภาพประกอบจาก www.wikipedia.org

วันชาติมาเลเซีย

ที่มา:
http://www.tungsong.com
http://raiwan.com

วันชาติของไทย คือ วันที่ 5 ธันวาคม

|0 comments
ธงชาติไทย
ธงชาติไทย

ภาพ:Thai_1.jpg


         วันชาติของไทย คือ วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

ความเป็นมาของวันชาติต่างประเทศ

ภาพ:Thai_2.jpg

         โดยทั่วไป “วันชาติ” มักจะหมายถึง วันเฉลิมฉลองที่ประเทศนั้นๆ ได้รับอิสรภาพ เป็นเอกราช หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ รัฐ ราชวงศ์ วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ วันเกิดประมุขของรัฐ หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่มักจะถือเป็นวันหยุดประจำของชาติ ซึ่ง “วันชาติ” ของแต่ละประเทศจะเป็นวันใด ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศโมร็อกโก]] ตรงกับวันที่ 2 มีนาคม สหรัฐอเมริกา ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม ฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม อินโดนีเซียตรงกับวันที่ 17 สิงหาคมบราซิล]]ตรงกับวันที่ 7 กันยายน และเคนย่าตรงกับวันที่ 12 ธันวาคม เป็นต้น
          “วันชาติ” ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีเพียงวันเดียว แต่ก็มีบางประเทศเช่นกันที่มี “วันชาติ” มากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้เพราะประเทศนั้นๆ อาจจะนับวันที่ได้รับเอกราชหรือวันที่ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคม และวันที่มีการสถาปนาการปกครองขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะมิใช่วันเดียวกัน แต่เป็นวันสำคัญเสมือนวันชาติเท่าๆกัน เช่น ประเทศปากีสถาน จะมีวันชาติตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ที่เขาเรียกว่า “Republic Day” และวันที่ 14 สิงหาคม เป็น “Independence Day” ส่วนฮังการี ก็มีถึง 3 วันคือ วันที่ 15 มีนาคม 20 สิงหาคม และ 23 ตุลาคม สำหรับจีน นอกจากจะมีวันชาติตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม แล้ว ที่ฮ่องกง อันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ที่มีขึ้นหลังจากอังกฤษ คืนเกาะ ฮ่องกง ให้จีนก็มีการเฉลิมฉลองวันที่ตรงกับวันสถาปนาการปกครองพิเศษนี้ขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม อีกด้วย

ความเป็นมาของวันชาติไทย

ภาพ:Thai_3.jpg

         สำหรับประเทศไทย เราเคยได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็น “วันชาติ”ของไทย ด้วยถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดย พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
         วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่นานถึง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า
         ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
         คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติ ต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น
         แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวัน[[พระราชสมภพเป็นวันเฉลิม ฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เองคณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย
         ดังนั้น นับแต่ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันชาติ” ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กิจกรรมวันชาติ

         ตามปกติ การจัดงาน “วันชาติ” ของประเทศต่างๆก็จะมีกิจกรรมและรูปแบบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟอย่างเอิกเกริก รวมไปถึงการแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้น แต่ในประเทศไทย เนื่องจากวันชาติ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเฉลิมฉลองอยู่แล้ว กอปรกับประเทศไทยยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน และคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เห็น กันอยู่ปัจจุบัน
         ดังนั้น “วันชาติ” ของเราจึงดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก เพราะชาวไทยทุกหมู่เหล่าล้วนตัองการจัดกิจกรรมเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อหลวงของแผ่นดิน” มากกว่าประเด็นอื่น อย่างไรก็ดี หากเราจะระลึกว่าวันนี้ ก็เป็น “วันชาติ”ของไทยด้วย แล้วจัดกิจกรรมต่างๆที่จะแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อ “ประเทศชาติ” ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และความเสียสละมาอย่างยาวนานเช่นไร ก็อาจจะทำให้ วันนี้ มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คุณอมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- คอลัมน์รู้ไปโม้ด หนังสือพิมพ์ข่าวสด
- วิกิพีเดีย
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต